ประวัติสถานศึกษา

โรงเรียนจรัสพิชากรอาชีวศึกษา ได้ขออนุญาตเพื่อเปิดทำการสอนในปีพ.ศ. ๒๕๒๑ โดยมีนายจรัส เสือทอง เป็นผู้ก่อตั้งโดยชื่อว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาจรัสพิชากร และได้รับอนุญาตเปิดทำการสอนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ต่อมาได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนจรัสพิชากรอาชีวศึกษาในปีเดียวกัน และใช้ชื่อย่อว่า จ.พ.อ. โดยมีนายจรัส เสือทอง เป็นผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการ นางจรวย ตันติชูเกียรติเป็นครูใหญ่และในปีการศึกษา 2556 ได้เปลี่ยนจากโรงเรียนจรัสพิชากรอาชีวศึกษา เป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร มีชื่อย่อว่า วท.จพ. โดยมีดร.จิตสถา ศิริณภัค เป็นผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร เปิดทำการสอนครั้งแรกปีการศึกษา ๒๕๒๒ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาไฟฟ้ากาลัง และประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาการเลขานุการ วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร ตั้งอยู่บนเนื้อที่๙ ไร่๑๒ งาน ภายในวิทยาลัยฯประกอบด้วย อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นอาคารเรียนจำนวน 3 หลัง อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารปฏิบัติการการโรงแรม จำนวน 1 หลัง อาคารปฏิบัติการ ช่างอุตสาหกรรม จำนวน 2 หลัง ห้องประชุม 1 หลัง มีสนามกีฬา 2 สนาม มุมพักผ่อนสำหรับนักเรียน / นักศึกษา 8 จุด

การจัดการศึกษา

ประเภทวิชาที่เปิดสอน

1.ประเภทวิชาอุตสาหกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

     – สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขางานไฟฟ้ากำลัง (ระบบปกติ)

    – สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขางานก่อสร้าง (ระบบปกติ)

     – สาขาวิชาช่างยนต์สาขางานยานยนต์(ระบบทวิภาคี) สาขางานตัวถังและสีรถยนต์(ระบบทวิภาคี) สาขางานจักรยานยนต์และเครื่องยนต์เล็กเอนกประสงค์(ระบบทวิภาคี) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

     – สาขาวิชาไฟฟ้า สาขางานไฟฟ้ากำลัง (ระบบปกติ) สาขางานเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ (ระบบทวิภาคี)

     – สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์(ระบบทวิภาคี)

2. ประเภทวิชาพาณิชยกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

     – สาขาวิชาการบัญชีสาขางานการบัญชี(ระบบปกติ)

     – สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ระบบปกติ)

     – สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก สาขางานธุรกิจค้าปลีก (ระบบทวิภาคี) สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านอาหารและภัตตาคาร (ระบบทวิภาคี)

ประเภทวิชาบริหารุรกิจระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

     – สาขาวิชาการบัญชี(ระบบปกติ)

     – สาขาวิชาการตลาด สาขางาานการตลาด (ระบบปกติ) สาขางานธุรกิจการบริการยานยนต์      (ระบบปกติ)

     – สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (ระบบปกติ)

     – สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ (ระบบทวิภาคี)

4. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

     – สาขาวิชาการโรงแรม สาขางานการโรงแรม (ระบบปกติ)ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

     – สาขาวิชาการโรงแรม สาขางานบริการอาหารและเครื่องดื่ม (ระบบปกติและระบบทวิภาคี)

5. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

    – สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบบปกติ)ระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง

    – สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบบปกติ)